การใช้ฮอร์โมนทดแทน ในหญิงวัยทอง คืออะไร

ฮอร์โมนทดแทน

ฮอร์โมนทดแทน ในหญิงวัยทอง เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการปรับตัวเข้ากับสังคม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการต่างๆ มาก เช่น รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท หงุดหงิด โมโหง่าย หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน

ความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ ฮอร์โมนทดแทน ตามความเหมาะสมในแต่ละราย

ผู้หญิงวัยทองที่แม้จะไม่ค่อยมีอาการผิดปกติในเรื่อง อาการร้อนวูบวาบ อาการช่องคลอดแห้ง แต่ก็ควรนึกถึง ภาวะคลเซียมสลายออกจากกระดูกอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอก จากป้องกันด้วยการทานคัลเซียมให้ได้เพียงพอสําหรับความต้องการต่อวันที่แนะนํา

แต่นั่นยังเกี่ยวข้องกับการดูดซึมที่เริ่มไม่ค่อยดี และการรักษามวลกระดูกจะดียิ่งขึ้นหากได้ รับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนทดแทน ซึ่งสามารถช่วยให้ช่องคลอด และน้ําเมือกต่างๆยังคงการสร้างได้ดีขึ้น ผิวสวยเต่งตึงขึ้น รวม ทั้งลดอาการไม่สบายต่างๆของวัยทองได้ด้วย

นอกจากนี้การใช้ฮอร์โมนทดแทนเมื่อเข้าสู่วัยทองยัง สามารถชะลอโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองอุดตัน สมองเสื่อม รวมถึงความเสื่อมอื่นๆของร่างกายได้

ฮอร์โมนทดแทน คืออะไร?

ฮอร์โมนทดแทน คือการรักษาวัยทองโดยใช้ยากลุ่มฮอร์โมน ในสุภาพสตรีจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ซึ่งอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่ง คือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ชนิดที่ได้มาจากธรรมชาติในรูปแบบยารับประทาน

ฮอร์โมนทดแทน

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาให้ในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ ให้ทางผิวหนัง เจล แผ่นแปะ การสอดทางช่องคลอด หรือการพ่นเข้าจมูก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับตับ ระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ปวดศีรษะแบบไมเกรน ในกรณีของการให้ฮอร์โมนทดแทนในเพศชายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนในรูปแบบยารับประทานเป็นชนิดยาฉีดเพื่อให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น สบายกายสบายใจ และให้ผลพลอยได้ในเรื่องปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศมีหลายสาเหตุ ไม่ได้มาจากการลดลงของฮอร์โมนเพศเพียงอย่างเดียว

การใช้ฮอร์โมนทดแทนสําหรับสตรีวัยทองมีหลายวิธี การจะใช้วิธีใดขึ้น กับความเหมาะสมในหญิงแต่ละคน อาจใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว สองชนิด หรือ สามชนิด และหลายรูปแบบ เช่น ยาทาน ยาฉีด ชนิดแปะผิวหนังชนิดเหน็บ

ช่องคลอด และยาทาช่องคลอด

ผู้หญิงบางคนก็มีข้อจํากัดไม่อาจใช้ฮอร์โมนได้ เช่น

๑ ผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็ง

๒. เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ

๓. สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม

๔. เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ

๕. เลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ 5. เป็นหรือเคยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันที่ขาหรือปอด ๗. เป็นความดันเลือดสูงที่ยังควบคุมไม่ได้ ๔. เป็นโรคตับ

๙. การแพ้ฮอร์โมน

๑๐. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง

แนวทางการเลือกใช้ ดังนี้

๑.สําหรับผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่และมดลูกทําให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน แพทย์นิยมให้ฮอร์โมนที่เป็นเอสโตรเจนแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องให้โปร

เจสเตอโรน เพราะไม่มีมดลูกให้หนาตัวมากจนเป็นมะเร็ง มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทาบริเวณผิวผนัง หรือชนิดแผ่นติด เวลาที่เหมาะแก่การรับประทานยา ฮอร์โมน คือ หลัอาหารเย็น หรือก่อนนอนทุกวัน

๒. หญิงที่ยังมีมดลูกอยู่ควรจะได้รับยาฮอร์โมนทดแทน รวม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจส เตอโรน เพื่อป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ซึ่งถ้าเยื่อบุโพรง

ฮอร์โมนทดแทน

มดลูกหนาตัวแล้วจะมีความเสียงที่จะเกิดมะเร็งของเยื่อ บุโพรงมดลูกได้ แบ่งเป็น

• ชนิดที่ใช้เป็นรอบๆ (Cyclic Regimen) เป็น การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ๒๑ วัน และใน ๑๐ วันหลัง จะมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมด้วย จะมีช่วงที่ไม่ต้อง ใช้ฮอร์โมนใดๆเลย ๗ วัน เมื่อหยุดยาครบ ๗ วันแล้วให้ เริ่มยาในรอบต่อไปได้เลย ทําให้มีประจํา เดือนอย่างสม่ําเสมอ

เหมาะสําหรับหญิงที่ เพิ่งหมดประจําเดือน ภายหลังที่หยุดยาทั้ง สองชนิด มากกว่าร้อยละ ๙๐ ของสตรีที่ยังมี มดลูกอยู่ จะมีเลือดประจําเดือนออกมา แต่เมื่อใช้ยาวิธี นี้ไปนานๆ เลือดประจําเดือนอาจมีปริมาณน้อยลง หรือ หมดลงได้ในที่สุด การรับประทานยาแบบนี้ เมื่อลืมทาน ยาข้ามวันให้ทานยาของวันที่ลืมเมื่อนึกขึ้นได้ต่อไป ส่วน ยาที่จะต้องทานตามปกติในแต่ละวันให้เลื่อนไปทานใน

วันถัดไป

• ชนิดรอบละ ๒๘ วัน แบบนี้หญิงวัยทองจะต้องทานยาฮอร์โมนเอสโตร เจนเป็นเวลา ๒๘ วันติดต่อกัน และได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นช่วงเวลา ๑๐-๑๔ วัน ซึ่งคล้ายกับแบบที่หนึ่ง โดยหญิงที่มีมดลูกอยู่จะมีประจําเดือนออก มาเป็นรอบในระหว่างที่มีเลือดประจําเดือนยังคงได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่

ซึ่งจะช่วยทําให้ไม่มีอาการขาดฮอร์โมนในระหว่างที่มีรอบประจําเดือนถ้าลืมทาน ยาข้ามวัน ในวันที่นึกขึ้นได้ให้ทานยาเม็ดที่ลืมนั้นต่อไปตามเดิมไม่ต้องข้าม

• ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous Combined Regimen) เป็นการ

ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่เท่ากันทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพื่อ ให้ไม่ต้องมีประจําเดือน ชนิดนี้ใช้กับหญิงที่ยังมีมดลูก เหมาะ

สําหรับผู้ที่หมดประจําเดือนมานานมากกว่า ๑ ปีขึ้นไป

ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีทั้งชนิดที่ได้จากธรรมชาติ และได้จากการสังเคราะห์

รูปแบบของการใช้ เช่น

• วิธีกิน ได้แก่ พรีมาริน (premarin)

• วิธีฉีด ออกฤทธิ์ได้นานเป็นเดือน

• มียาประเภทฝังใต้ผิวหนังหน้าท้อง (มีใช้ในต่างประเทศ)

• ครีมทาผิวหนัง เช่น oestrogel (หลังอาบน้ําให้ทาบริเวณต้นแขน ไหล่ หน้าท้อง ต้นขาให้ทั่วในปริมาณที่กําหนด เลือกทาบางส่วนของที่กล่าวมาก็ได้ รอให้ยาซึมจนหมดจึงค่อยสวมเสื้อผ้า และไม่ให้ยาถูกบริเวณที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ใกล้ตา เต้านม ช่องคลอด)

• แผ่นติดผิวหนัง (สะโพก หน้าท้อง บั้นเอว สีข้าง ต้นแขน เปลี่ยน ตําแหน่งไป ยกเว้นห้ามแปะที่หน้าอก เพราะยาอาจสะสมจนเกิดมะเร็งเต้านม)

• ครีมทาบริเวณช่องคลอด ยาเม็ดสอดช่องคลอด(สําหรับยาทา ยาสอด แผ่นแปะตัวยาจะซึมเข้าทางผิวหนังสามารถรักษา อาการร้อนวูบวาบ ป้องกันกระดูกพรุนได้ แต่ไม่สามารถลดไขมันในเส้นเลือด ไม่สามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เพราะว่าตัวยาไม่ผ่าน เข้าสู่ตับ แต่นั่นทําให้เหมาะสําหรับคนที่เป็นโรคตับ เพราะยาไม่ทําให้ตับทํางาน หนักมากขึ้น)

ผลข้างเคียงของยาฮอร์โมนเอสโตรเจน

จากการวิจัยพบว่าผลเสียมักจะมีในหญิงวัย ๖๕ ปีขึ้นไป ส่วนวัยที่เพิ่ง หมดประจําเดือนนั้นจะมีแต่ผลดีเป็นส่วนใหญ่ ผลข้างเคียง ได้แก่

๑. คนที่ยังไม่ได้ตัดมดลูกอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง ๓-๖ เดือนแรก จากนั้นมักไม่มีประจําเดือน หากนานแล้วยังมีประจําเดือนควรปรึกษาแพทย์

๒. เต้านมอาจนิ่มขึ้น อาจขยายใหญ่ขึ้น หรือมีน้ําใสๆออกจากหัวนม หรือเจ็บคัดเต้านมในช่วงแรกเท่านั้น

๓.คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว

๔. น้ําหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือตัวบวม แต่ส่วน ใหญ่ขึ้นกับพฤติกรรมการกินอยู่

๕. ปวดศีรษะ ไมเกรน ในคนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว หญิงที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนจากการใช้

๖.ฮอร์โมนทดแทนชนิดรับประทาน อาจหลีกเลี่ยงไปใช้ฮอร์โมน ทดแทนที่ให้ทางผิวหนังได้ เนื่องจากการให้ยาผ่านทาง ผิวหนังไม่ต้องผ่านกระบวนการสันดาปที่ตับ

๗. ในคนที่ไม่ใช้ยาต่อเนื่อง อาจมีผมร่วง ผิวหนัง เปลี่ยนสี มีผื่นขึ้น

๔. มีรายงานว่าเป็นนิ่วในถุงน้ําดีเยื่อบุโพรงมดลูกหนา ตัวในคนที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว

ผลข้างเคียงของโปรเจสเตอโรน

มีอาการ เจ็บคัดเต้านม ตัวบวม ปวดศีรษะ มีเลือดออกคล้ายระดู อาจ มีขนขึ้นบนใบหน้า หายใจลําบาก สายตาเปลี่ยนแปลง อารมณ์ซึมเศร้า แขน ขาชา ปวดตามน่อง เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ท้องอืด น้ําหนักเพิ่มขึ้น เป็นฝ้า เป็นสิว เหนื่อยเพลีย

มีรายงานการวิจัยพบว่า ใช้โปรเจสเตอโรน ๕ วันต่อเดือน ทําให้เยื่อบุ โพรงมดลูกหนาตัว ร้อยละ 5 ใช้โปรเจสเตอโรน ๗ วันต่อเดือนทําให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนา

ตัวน้อยลง เหลือร้อยละ ๓ ใช้โปรเจสเตอโรน ๑๐ วันต่อเดือน ไม่พบว่าทําให้เยื่อบุ โพรงมดลูกหนาเลย

๓. ฮอร์โมนทดแทนอื่นๆเป็นฮอร์โมนที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ สามารถป้องกันและรักษาการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจําเดือนได้ ได้แก่

    • ยาทโบโลน (Tibolone) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ประกอบด้วยฮอร์โมน ๓ ตัว คือ เอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรเจน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม สามารถใช้แทนฮอร์โมนแต่ละตัวนั้นได้ ช่วยรักษาอาการวัยทอง และมีประสิทธิ

ภาพในการรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้เท่าเทียมกับการใช้ฮอร์โมนเอส

โตรเจน และโปรเจสเตอโรน

    • ยาราโลซิเฟน (Raloxifene) พบว่าสามารถเพิ่มความหนาแน่นของ กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก และลดอัตราการหักของกระดูกสันหลัง แต่ไม่ ช่วยลดอาการไม่สบายของวัยทอง เพราะว่ายาไปออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมน เพศหญิงที่กระดูกเท่านั้น ไม่ไปออกฤทธิ์ที่ส่วนอื่นของร่างกาย

    • สารสกัดจากพืช (Phytoestrogen) ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารประกอบ ธรรมชาติประเภทลิกแนนส์ และไอโซฟลาโวนส์ ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ทาง ชีววิทยาได้คล้ายเอสโตรเจน มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าไฟโตเอสโตรเจนสามารถลด การเกิดกระดูกพรุน โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ และโรคมะเร็งบางชนิดที่มี ความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก ไฟโต เอสโตรเจนช่วยบําาบัดอาการวัยทองได้ แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพต่ํากว่าฮอร์โมน ๑๐๐-๑๐๐๐ เท่า มักพบในพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้แข็ง เต้าหู้อ่อน น้ําเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ชะเอม แบล็คโคฮอส น้ํามะพร้าวอ่อน ใบ แปะก๊วย โสมตังกุย ผักผลไม้สีเข้ม เช่น แครอต มะเขือเทศ ฟักทอง องุ่น รวม ทั้งมีในน้ํามันพืช ตับ ไข่แดง กระเทียม น้ํามันถั่วลิสง เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ หญิงจะเลือกมารับประทานได้เองในแต่ละมื้ออาหาร แต่ไฟโตเอสโตรเจนใน หญิงที่ยังมีประจําเดือนนั้นอาจจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะว่าจะไปแย่ง จับ ตัวรับ (recepter) ทําให้ฮอร์โมนตัวจริงบางส่วนไม่อาจทํางานได้ เพราะว่า ไม่มีตัวรับ

โดยทั่วไปแพทย์มักจะจ่ายไฟโตเอสโตรเจน เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น

๑. มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม

๒. มีประวัติมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

๓. ตับเสื่อมหน้าที่อย่างรุนแรง

๔. โรคพอไฟเรียจากการขาดเอนไซม์สังเคราะห์ฮีโมโกลบิน เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ยังหาสาเหตุไม่ได้

๕. หญิงวัยทองที่ทนอาการข้างเคียงของยาฮอร์โมนทดแทนไม่ได้

ข้อควรรู้

๑. หญิงวัยทองรูปร่างอ้วนจะมีฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าหญิงวัยทองรูป ร่างผอมบาง เพราะเนื้อเยื่อไขมันมีสารสําคัญที่จะกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเพศหญิงได้ หญิงที่ผอมบางจึงควรได้รับฮอร์โมนทดแทน ยิ่งคิดว่าจะ มีช่วงวัยทองนานนับ ๑๐-๓๐ ปี ยิ่งควรได้รับฮอร์โมนทดแทน

๒. สําหรับหญิงที่สูบบุหรี่นั้นจะได้รับสารชื่อว่า เบนโซไพรีน เป็นตัวทําลายเอสโตรเจนต่างๆ คือ

ภายหลังการได้รับฮอร์โมน หญิงวัยทองควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ

๑. หมันคลําเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้ง

๒. ไปพบแพทย์หลังได้รับฮอร์โมนไปแล้ว 5 เดือน เพื่อตรวจภายในพร้อมทําแปปสเมียร์ ตรวจอวัยวะอุ้งเชิงกราน ตรวจปัสสาวะดูระดับน้ําตาลและโปรตีน ไข่ขาว เจาะตรวจดูระดับน้ําตาล ไขมัน การทํางานของตับและไต ตรวจคลําเต้านมโดยแพทย์ และวัดความหนาแน่นของกระดูก

๓.ถ้าแพทย์ตรวจไม่มีอะไรผิดปกติแล้วอีกหนึ่งปีก็ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป และการทําแมมโมกราฟดูมะเร็งเต้านม การทําแปป สเมียร์ตรวจมะเร็งปากมดลูกปีละครั้งทุกปี

๔. ถ้าใช้ฮอร์โมนในลักษณะต่อเนื่องโดยไม่หยุด ในแต่ละรอบก็มักจะไม่มีประจําเดือนออกมา