แนวทางการรักษาภาวะนอนไม่หลับ ยานอนหลับ สามารถช่วยได้ไหม
ถ้าพูดถึงปัญหา โรคนอนไม่หลับ “Insomnia” หลายคนน่าจะพุ่งเป้าการรักษาไปที่การทานยานอนหลับ!
เพราะฉะนั้น หากเราบอกกับคุณว่า จริงๆ แล้ว “ยานอนหลับ” ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด
ก็อาจทำให้หลายคนคัดค้านในใจ แต่นี่คือแนวทางในการรักษาโรคนอนไม่หลับ
ยานอนหลับ แนวทางการรักษาภาวะนอนไม่หลับ ประกอบด้วย การรักษาโดยไม่ใช้ยาและการรักษาโดยใช้ยา
สารบัญ
- โรคนอนไม่หลับคือ
- เพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดปัญหา
- แนวทางการรักษา
- ผลต่อการนอนหลับ
- เช็กต้นเหตุนอนไม่หลับ
- ใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วย
โรคนอนไม่หลับคือ
หลับยากมานานแค่ไหนถึงควรพบแพทย์
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ Acute และ Chronic ซึ่ง
Acute เป็นการนอนไม่หลับในช่วงระยะสั้นๆ เกิดขึ้นประมาณ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน ส่วน
Chronic จะเป็นการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง คือ เกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป และต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
โดยส่วนใหญ่ในช่วงแรก หลายคนจะเริ่มจากขั้น Acute ก่อน ซึ่งถ้ารู้สึกว่ายังควบคุมได้ ไม่กระทบชีวิตประจำวัน ก็ยังไม่จําเป็นต้องไปพบแพทย์
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การนอนไม่หลับเริ่มส่งผลกับชีวิตประจําวัน
ไม่ว่าจะเป็น การปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ทํางานไม่มีประสิทธิภาพ
แบบนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าปล่อยให้เวลาเรื้อรังจนถึงขั้น Chronic
ปัญหาการนอนไม่หลับจะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้
เพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดปัญหา “นอนไม่หลับ”
อาการนอนไม่หลับอาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ ได้เหมือนกัน เช่น โรคที่ส่งผลให้หายใจไม่สะดวกอย่างโรคปอด หรือโรคกรดไหลย้อนที่ทําให้ไม่สบายท้องเวลานอน รวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ที่ผู้ป่วยมักจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาในเวลากลางคืน
แต่สำหรับอาการนอนไม่หลับที่เกิดจาก “โรคนอนไม่หลับ” โดยตรง
มีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ คือ
สภาวะทางอารมณ์ บางทีอยากมีเซ็กส์ก่อนนอน ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
ความสมดุลของฮอร์โมน เนื่องจากร่างกายมีความผิดปกติ อาจจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดมากหรือน้อยกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic treatment) เป็นการรักษาหลักสำหรับภาวะนอนไม่หลับ ประกอบไปด้วย
- การปรับให้มีสุขอนามัยการนอนที่ดี (Good sleep hygiene) เป็นการรักษาที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของการรักษาภาวะของโรคนี้ในผู้ป่วยทุกราย การมีสุขอนามัยการนอนที่ดี
- ทำได้โดยการปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมต่อการนอนหลับ และนำหลักของการเหนี่ยวนำให้เกิดอาการง่วงนอนตามธรรมชาติมาใช้ เช่น การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะในช่วงเย็นเพื่อให้เหนื่อยเพลีย ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงผลักดันของระบบ Homeostasis ให้มากขึ้น หรือการเข้านอนให้เป็นเวลาและปิดไฟในห้องนอนให้มืดสนิท เพื่อช่วยให้ระบบ Circadian rhythm
- ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ถูกรบกวนจากปัจจัยภายนอก เป็นต้น ข้อมูลของการปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับได้แสดงไว้แล้วในตารางที่ 1
- การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย (Progressive relaxation training) ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
- การรักษาด้วยความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive-Behavioral therapy) โดยเน้นที่การปรับความคิดเพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมและอารมณ์ การรักษาวิธีนี้ได้ประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ปัญหาที่เกิดร่วมกับโรคทางอารมณ์และกลุ่มโรควิตกกังวล
- การควบคุมปัจจัยกระตุ้น (Stimulus control)
- การจำกัดชั่วโมงในการนอน (Sleep restriction) สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะให้การรักษาด้วยการปรับสุขอนามัยการนอนและการรักษาโดยการไม่ใช้ยา วิธีอื่น ๆ ร่วมไปกับการรักษาด้วยยา จะได้กล่าวต่อไป
ตารางที่ 1: การปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับ
- การรักษาด้วยการใช้ยา (Pharmacologic treatment)
การรักษาด้วยยาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสังคม ยาเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “ยานอนหลับ” ไม่ใช่ยาเสียสาวนะคะ แต่แท้จริงแล้วยานอนหลับไม่ได้หมายถึงยาชนิดใดชนิดหนึ่ง